เราได้เรียนรู้อะไรจากวิกฤต?
จากมุมมองของ ศิรดา เทียมประเสริฐ

การที่ คุณ ศิรดา เทียมประเสริฐ ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานในวงการ Wealth Management ในสายงาน Private banking ที่ธนาคารสัญชาติ สวิส ณ สำนักงานภูมิภาค (regional office) ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ทำให้คุณ ศิรดา เทียมประเสริฐ มีโอกาสดูแลและให้คำปรึกษาด้าน การวางแผนการลงทุน จัด asset allocation พร้อมทั้งให้คำแนะนำ ด้านการลงทุน เกี่ยวกับการซื้อขายตราสารต่างๆ ในพอร์ตการลงทุน ของกลุ่มลูกค้าผู้มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง

โดยจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมานั้น คุณศิรดา เทียมประเสริฐ พบว่าระบบการทำงานของธนาคารใหญ่ในระดับโลก ไม่จำกัดอยู่ที่ ตราสารเพียงไม่กี่ประเภท แต่มีความเป็น Product Universe กล่าวคือ การครอบคลุมถึงตราสารที่กว้างไกลแบบไร้พรหมแดนไม่ว่าจะเป็น ตราสารหนี้ ตราสารทุน Currencies, Private Equity, Hedge Fund, Mutual Funds, REITS ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ และยังมีอีกมากมาย ที่ไม่ได้กล่าวถึง

คุณ ศิรดา เทียมประเสริฐ กล่าวว่า “จำได้ขึ้นใจว่าตลาดเคยเคลื่อนไป ในจุดที่สูงมาก ในปี พ.ศ. 2550 เพียงดอกเบี้ยเงินฝากประจำในสกุลเงิน US dollar ระยะเวลา 1 สัปดาห์จ่ายดอกเบี้ยสูงมากถึง 5% ต่อปี กองทุนรวมลงทุนในหุ้นประเทศจีน (Mutual fund China A-share) เป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนทางแถบเอเชียมาก มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ปรับขึ้นไปเกิน100% ภายในเวลาชั่วพริบตา

แต่แล้วก็เริ่มมีการขาดการชำระเงิน (default) ของ mortgaged back security (MBS) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สถานการณ์ผันแปรเรื่อยมา จนถึงวันที่สถาบันการเงิน Lehman Brothers ต้องปิดกิจการลง วิกฤตครั้งนั้นในเดือนกันยายนปี 2551 คุณ ศิรดา เทียมประเสริฐ กล่าวว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้น ผู้ที่เสียหายมากที่สุดคือนักลงทุนที่ได้ ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ที่มีสัดส่วนการ Leverage สูง เชื่อมโยง (Link) กับอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange) ผู้ที่ได้ประโยชน์ที่สุด คือผู้ที่ในระยะเวลานั้นถือเงินสดพร้อมลงทุนใน หลักทรัพย์ที่มีคุณภาพ ในราคาที่ปรับตัวถูกลง และผู้ที่ไม่เสียหาย คือผู้ที่ลงทุนในสินทรัพย์ ที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมและหรือผู้ที่มีการจัดสัดส่วนสินทรัพย์ (asset allocation) ที่เหมาะสม คำถามว่า เราเคยให้คำแนะนำปรึกษา ผู้ลงทุนผิดพลาดบ้างหรือไม่ คำตอบคือ เคยและความผิดพลาดนี้ที่ได้ ทำให้เราเรียนรู้ เมื่อเรามีประสบการณ์ มากขึ้นจะรู้ได้ว่าอะไรผิด เราจะไม่ทำอีก”

จากหลายวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ผ่านมา จึงสอนให้ต้องมีความ หนักแน่นและมั่นคง ไม่เชื่อข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ภายนอก ดูดีสวยงาม แต่แท้จริงแล้วความเสี่ยงนั้นมีมากเกินกว่าคุณภาพ หรือ โอกาสที่จะเกิดผลตอบแทนที่คุ้มค่า ธุรกิจ Wealth Management ในที่สุดแล้ว ต้องวัดกันที่เวลา และอีกหนึ่งปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้ของ นักลงทุน นั่นคือความจริงใจจากผู้ให้คำปรึกษาการลงทุนที่มีต่อลูกค้า ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด

“สิ่งที่เราจะแนะนำให้ลูกค้าได้จะต้องเป็นสิ่งเดียวกันกับที่เรามีความกล้าและอุ่นใจที่จะแนะนำให้กับคุณพ่อคุณแม่หรือพี่น้องของเราเอง สินทรัพย์ทางการลงทุนเหล่านั้นจะต้องเป็นสินทรัพย์ที่ถึงแม้จะต้องผ่าน crisis มานักต่อนักแต่ก็จะผ่านไปได้ พร้อมเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน” – ศิรดา เทียมประเสริฐ

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล ก่อนการตัดสินใจลงทุน

close
Back to top
Skip to content